แก้ปัญหากลิ่นปาก - คอลเกต

วิธีแก้ปัญหากลิ่นปาก

วิธีแก้ปัญหากลิ่นปากหรือภาวะปากเหม็นดูเหมือนจะซับซ้อน หากไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงตั้งแต่แรก เป็นที่มาของเหตุผลว่าการไปพบทันตแพทย์จึงสำคัญเพื่อกำจัดกลิ่นปากให้หายได้ในที่สุด

สาเหตุของกลิ่นปาก

หากไม่อยากพบทันตแพทย์ ควรเริ่มแก้ปัญหากลิ่นปากที่บ้านด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันให้เป็นกิจวัตรประจำวัน ควรการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ ปัญหากลิ่นปากเกิดจากแบคทีเรียแพร่กระจายได้เร็วกว่าก่อนที่จะถูกกำจัดออกจากช่องปาก ยิ่งมีแบคทีเรียตกค้างในปากมากเท่าไหร่ ปัญหากลิ่นปากก็ยิ่งแย่ลงเท่านั้น วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคืออย่าปล่อยให้มีเศษอาหารหลงเหลืออยู่ในปากหลังรับประทานอาหาร

คำแนะนำการแปรงฟันเพื่อกำจัดกลิ่นปาก:

  • เลือกซื้อแปรงสีฟันที่ช่วยทำความสะอาดช่องปากได้อย่างทั่วถึง เช่น เลือกใช้แปรงสีฟันที่มีหัวแปรงโค้งมน จะได้เข้าถึงบริเวณฟันด้านหลังหรือแปรงสีฟันที่มีขนแปรงหลายระดับสำหรับทำความสะอาดบริเวณฟันที่ทำความสะอาดยาก
  • การแปรงลิ้นเป็นสิ่งสำคัญ แบคทีเรียที่เป็นตัวการของปัญหากลิ่นปากชอบอาศัยอยู่ที่พื้นผิวลิ้น
  • ใส่ใจการทำความสะอาดเป็นพิเศษบริเวณรอยต่อแนวขอบเหงือกและฟัน เพราะเป็นจุดที่แบคทีเรียเจริญเติบโตและแพร่กระจายเข้าไปในร่องของเนื้อเยื่อเหงือก หรือ ใต้ขอบเหงือก
  • ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียหลังแปรงฟันเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียในบริเวณที่การแปรงฟันเข้าไม่ถึง.  

วิธีแก้ไขปัญหากลิ่นปากเพิ่มเติม

  • ผู้ที่สูบบุหรี่ ควรหยุด เพราะยาสูบก่อให้เกิดการระคายเคืองที่เนื้อเยื่อเหงือก นำไปสู่การติดเชื้อในช่องปากได้ง่ายส่งผลต่อปัญหากลิ่นปากรุนแรงากขึ้น
  • ลดน้ำตาลหรือของหวาน น้ำตาลเป็นสารอาหารที่ดีต่อการเจริญเติบโตและแพร่จำนวนของแบคทีเรียได้อย่างรวดเร็ว
  • ถ้าไม่สามารถดูแลรักษาปัญหาเองที่บ้านได้ ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันและขจัดคราบหินปูนเป็นประจำ ถึงแม้ดูเหมือนว่าจะไม่มีคราบจุลินทรีย์ที่ผิวฟัน แต่อาจสะสมอยู่ในจุดที่เข้าถึงยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใต้ขอบเหงือก
  • เมื่อใดที่รู้สึกระคายเคืองในช่องปาก ให้พบแพทย์เพื่อรับการประเมินปัญหาในช่องปาก หรือสภาวะบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคไต การติดเชื้อไซนัส หรือ ปัญหาเกี่ยวกับตับ ก็สามารถเกี่ยวข้องกับการมีกลิ่นปากได้เช่นกัน

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม