a boy looking at the mirror while brushing his teeth with Colgate toothpaste
Badge field

อันตรายของฟลูออไรด์: แค่ไหนคือมากเกินไป?

Published date field Last Updated:

มาทำความเข้าใจก่อนว่าฟลูออไรด์ดีแค่ไหน? ตามที่สมาคมทันตแพทย์อเมริกัน (ADA) กล่าวไว้ว่า ฟลูออไรด์มักถูกขนานนามว่าเป็น "นักต่อสู้ปัญหาฟันผุตามธรรมชาติ" โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับฟันที่กำลังพัฒนา ข่าวดีคือเราสามารถได้ฟลูออไรด์ในปริมาณที่มีประโยชน์ที่พอเหมาะได้อย่างง่ายดาย เพราะฟลูออไรด์นั้นมีอยู่ในน้ำ และอาหารต่าง ๆ อยู่แล้ว ดังนั้นฟลูออไรด์จะเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคและช่วยให้ฟันแข็งแรง และป้องกันฟันผุ นอกจากนี้ ฟลูออไรด์ยังช่วยให้รักษาเคลือบฟันที่ผุในระยะแรก ๆ ฟื้นคืนกลับสู่สภาพปรกติได้อีกด้วยอย่างไรก็ตาม ทุกอย่างในชีวิตที่เมื่อได้รับมากหรือน้อยเกินไปก็เป็นปัญหาได้ ฟลูออไรด์เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงความจริงในเรื่องนี้ที่ว่าความสมดุลนั้นเป็นสิ่งสำคัญ โดยรวมแล้ว แร่ธาตุธรรมชาติชนิดนี้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพต่อการป้องกันฟันผุ แต่ก็ควรระวังถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับฟลูออไรด์มากเกินไป ตัวอย่างเช่น ปัญหาฟันตกกระ คือผลจากการได้รับแร่ธาตุมากเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับช่วงวัยเด็กฟันตกกระคืออะไร?ADA ระบุว่าฟันตกกระหรือฟันด่างขาวเกิดขึ้นเมื่อเด็กๆ ได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณที่มากเกินไปเป็นระยะเวลานานโดยเฉพาะในช่วงการสร้างฟันของเด็ก แหล่งฟลูออไรด์ที่เด็กๆ ได้รับเกินปริมาณมักมาจาก ฟลูออไรด์เสริมชนิดกิน หรือกลืนยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ในขณะที่พวกเขาอาศัยอยู่ในแหล่น้ำที่มีปริมาณฟลูออไรด์มากเพียงพออยู่แล้ว ฟันตกกระระยะเริ่มต้น ผิวฟันจะมีสีขาวขุ่น และสามารถสังเกตุเห็นได้ ในกรณีที่รุนแรง เคลือบฟันจะถึงขั้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ดำหรือเทา และมีผิวฟันที่ขรุขระ ไม่เรียบแต่ไม่ต้องเป็นกังวลไป! ปัญหาดังกล่าวแก้ไขได้หากพบตั้งแต่เนิ่น ๆ รอยและจุดเหล่านี้สามารถรักษาให้กลับสู่ภาวะปกติได้ เนื่องทันตแพทย์จะสังเกตุดูความผิดปรกตินี้และแก้ไขได้ทันท่วงทีวิธีป้องกันฟันตกกระปัญหาฟันตกกระจะพบมากในเด็กเล็กจนถึงอายุ 8 ปี เนื่องจากฟันเป็นช่วงวัยที่ฟันกำลังพัฒนาตั้งแต่เริ่มอยู่ใต้เหงือกจนงอกขึ้นมา มาดูเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ฟลูออไรด์ให้ปลอดภัยสำหรับเด็กแรกเกิดและเด็กเด็กแรกเกิด - อายุ 3 ขวบ:

  • ภาวะฟันตกกระจะไม่ค่อยเกิดกับทารกที่กินนมแม่ เพราะน้ำนมจากเต้านมมีปริมาณฟลูออไรด์ต่ำมาก ถึงแม้ว่า คุณแม่ตั้งครรภ์หรือคุณแม่ลูกอ่อนจะดื่มน้ำที่มีฟลูออไรด์ผสม ก็ไม่มีผลส่งฟลูออไรด์ในปริมาณมากสู่เด็กทารกได้
  • คุณแม่ที่ชงนมสูตรสำหรับเด็กเล็กให้ลูกน้อยดื่ม ควรใช้น้ำที่ปราศจากฟลูออไรด์หรือมีในปริมาณต่ำผสม หรือการให้นมสูตรสำเร็จพร้อมดื่มก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก เนื่องจากมีฟลูออไรด์ในปริมาณน้อยมาก
  • เมื่อฟันขึ้น ให้ป้ายยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เพียงเล็กน้อย ( ป้ายแค่ผิวแปรงสีฟัน ) และแปรงฟันสองครั้งต่อวัน

คายออกมา! เด็กๆ ควรได้รับการฝึกหัดในการบ้วนยาสีฟันออกเวลาแปรงฟันอายุ 3 - 8 ปี:

  • แปรงฟันให้สะอาด 2 ครั้งต่อวันอย่างต่อเนื่อง ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในปริมาณขนาดเท่าเมล็ดถั่ว
  • ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี ยกเว้นในกรณีที่ทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพแนะนำ ทักษะการกลืนของเด็กๆ ที่อายุต่ำกว่า 6 ปียังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ และพวกเขาอาจจะกลืนลงคอมากกว่าที่จะคายทิ้งอย่าลืมว่าการเกิดฟันตกกระนั้นป้องกันได้ แต่ก็ควรเตือนลูกน้อยไม่ให้กลืมยาสีฟันตอนแปรงฟัน ปรึกษาทันตแพทย์ ถ้าคุณกังวลว่าปริมาณของฟลูออไรด์ที่ลูกได้รับเหมาะสมหรือไม่ตัวเลือกในการรักษาฟันตกกระในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ภาวะฟันตกกระไม่นับว่าเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่เป็นสาเหตุต่อปัญหาฟันผุหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกคุณ บางกรณีฟันตกกระที่เกิดขึ้นนั้นเล็กน้อยมากจนไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา โดยเฉพาะหากที่ฟันด้านใน อย่างไรก็ตาม หากคุณกังวล ก็มีตัวเลือกในการรักษาอย่าง การฟอกสีฟัน เป็นต้นผลิตภัณฑ์ฟลูออไรด์เสริมควรทานผลิตภัณฑ์ฟลูออไรด์เสริมเมื่อแพทย์หรือทันตแพทย์สั่งจ่ายให้เท่านั้น ส่วนใหญ่ฟลูออไรด์เสริมจะให้กับเด็กๆ ที่มีอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 16 ปี ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่น้ำไม่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาฟันผุฟลูออไรด์ในน้ำดื่มตามที่ ADA ระบุไว้ว่าปริมาณฟลูออไรด์ที่แนะนำเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพฟันคือ ฟลูออไรด์ 0.7 ส่วนต่อน้ำล้านส่วน ภายใต้กฎหมายว่าด้วยน้ำดื่มที่ปลอดภัยของสหรัฐอเมริกา สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (EPA) เรียกร้องให้ระบบน้ำสาธารณะแจ้งเตือนแก่ประชาชน หากมีปริมาณฟลูออไรด์ตามธรรมชาติมากเกินกว่าปริมาณที่ได้แนะนำไว้ถ้าคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีฟลูออไรด์ในน้ำดื่มมากเกินกว่า 0.7 ส่วนต่อหนึ่งล้านส่วน คุณควรพิจารณาหาแหล่งน้ำดื่มใหม่ หรือหาวิธีบำบัดน้ำที่บ้านเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดฟันตกกระในเด็กเล็กขณะที่ EPA ไม่มีอำนาจในการควบคุมบ่อน้ำดื่มส่วนตัว แต่ได้แนะนำให้ทำการทดสอบทุกปี ถ้าหากว่าบ้านของคุณต้องใช้น้ำจากบ่อน้ำดื่มส่วนตัว การทดสอบหาค่าปริมาณฟลูออไรด์ทุกปีเป็นเรื่องที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีเด็กเล็กๆ อยู่ด้วยในบ้าน ปริมาณฟลูออไรด์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจะมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ แจ้งให้ทันตแพทย์และแพทย์ของคุณทราบถึงผลทดสอบของบ่อน้ำที่คุณใช้ เพื่อข้อมูลที่ถูกต้องในการแนะนำถึงระดับฟลูออไรด์ที่เหมาะสมต่อครอบครัวของคุณโดยรวมแล้ว ฟลูออไรด์มีประโยชนสำคัญหลายอย่างต่อช่องปากของลูกคุณและมีความปลอดภัยเมื่อใช้ตามคำแนะนำ เราต่างรู้ดีว่า การสอนให้ลูกดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเองให้ดีนั้นนับว่าค่อนข้างยาก แต่การสำรวจว่าลูกได้รับปริมาณฟลูออไรด์ที่เหมาะสมหรือไม่นั้นง่ายกว่ามาก หากว่าคุณมีคำถามเกี่ยวกับปริมาณฟลูออไรด์ที่เหมาะสมให้กับลูกน้อยคุณ สามารถสอบถามจากทันตแพทย์ กุมารแพทย์ หรือแพทย์ประจำครอบครัวของคุณได้

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม