Woman drinking glass of water
Badge field

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฟลูออไรด์

Published date field Last Updated:

ประเด็นเกี่ยวกับฟลูออไรด์ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกันเมื่อไม่นานมานี้ ว่าน้ำประปาควรจะผสมฟลูออไรด์หรือไม่? หรือฟลูออไรด์ปริมาณเท่าใดจึงจะถือว่ามากเกินไป? งานวิจัยของทันตแพทยสมาคมอเมริกัน (ADA) พบว่าแร่ธาตุสามารถช่วยป้องกันฟันผุได้อย่างน้อย 25% ในทั้งเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึงยังฟื้นคืนภาวะฟันผุในระยะเริ่มต้นให้ปรกติได้อีกด้วย น้ำประปาที่ผสมฟลูออไรด์คือสิ่งแรกที่ช่วยปกป้องฟันของคุณ แต่ถ้าน้ำที่คุณใช้อยู่ไม่มีฟลูออไรด์ล่ะ ให้ปรึกษาทันตแพทย์ว่าจะเสริมฟลูออไรด์จากแหล่งอื่นได้อย่างไร

แหล่งฟลูออไรด์

ฟลูออไรด์ในน้ำประปา

จากข้อมูลของทันตแพทยสมาคมอเมริกัน การจ่ายน้ำประปาที่ผสมฟลูออไรด์อย่างทั่วถึงเป็นวิธีทางสาธารณสุขที่ดีที่สุดที่จะช่วยป้องกันฟันผุได้ทันตแพทยสมาคมอเมริกัน (ADA) ยังสนับสนุนให้ผสมฟลูออไรด์ในน้ำประปา ด้วยการพิสูจน์จากงานวิจัยอย่างต่อเนื่องกว่า 70 ปีว่าปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำประปาที่เหมาะสมมีความปลอดภัยและส่งผลดีต่อสุขภาพฟัน ปริมาณฟลูออไรด์ที่เหมาะสมสำหรับใส่ในน้ำประปาทั้งหมดอยู่ที่ 0.7 ppm (0.7 ต่อหนึ่งล้านหน่วย) ซึ่งเป็นปริมาณที่ดีเพียงพอในการป้องกันฟันผุนั่นเอง

คุณสามารถตรวจสอบระดับฟลูออไรด์ในน้ำประปาได้ที่สำนักงานประปา และหากคุณใช้น้ำจากบ่อน้ำ ควรทำการตรวจสอบน้ำโดยผู้เชี่ยวชาญว่ามีปริมาณฟลูไรด์บ้างหรือไม่ และถ้าน้ำที่ใช้อยู่มีปริมาณฟลูออไรด์ไม่ถึง 1 ppm คุณควรปรึกษาทันตแพทย์ถึงทางเลือกอื่นๆ ที่เหมาะสมต่อการรักษาสุขภาพฟันของคุณ

การค้นหาวิธีการต่างๆ เพื่อการได้รับฟลูออไรด์อย่างเพียงพอจากน้ำดื่มในชีวิตประจำวัน หรือจากแหล่งอื่นๆ นั้นง่ายและมีทางเลือกที่หลากหลาย

การใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์

การใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เป็นวิธีที่ดีที่สุดและได้รับความนิยมมากที่สุดในการรักษาสุขภาพฟันให้แข็งแรง เพียงแค่แปรงฟันวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ หรืออื่นๆ เช่น น้ำยาบ้วนปากที่ผสมฟลูออไรด์ หรือ ฟลูออไรด์เจล อย่าลืมใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่มเพื่อป้องกันเคลือบฟันสึกกร่อน เพราะแปรงสีฟันที่มีขนแข็งๆ สามารถทำอันตรายต่อเหงือกและฟันได้ในระยะยาว น้ำยาบ้วนปากฟลูออไรด์สามารถช่วยลดปัญหาฟันผุในกลุ่มเด็กที่มีประวัติฟันผุหรือมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดฟันผุอีก ผู้ปกครองจำเป็นต้องคอยดูแลเด็กอายุระหว่าง 2-6 ปี เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กๆ จะบีบยาสีฟันเพียงปริมาณที่เท่ากับเมล็ดถั่วเท่านั้น และจะไม่กลืนยาสีฟันลงคอไป ส่วนเด็กทารกที่มีฟันขึ้นแล้วจะต้องการยาสีฟันที่มีเท่าเมล็ดข้าวเท่านั้น

การรักษาที่สถานทันตกรรม

ถ้าคุณมีความเสี่ยงต่ออาการฟันผุหรือไม่ได้รับฟลูออไรด์อย่างเพียงพอจากน้ำดื่ม ทันตแพทย์อาจแนะนำการเสริมฟลูออไรด์ได้ที่คลินิก โดยทันตแพทย์จะใช้ฟลูออไรด์แบบต่างๆ เพื่อเสริมความแข็งแรงของเคลือบฟัน ดังนี้


  1. ใช้ฟลูออไรด์แบบโฟมซึ่งป้ายลงบนถาดนิ่มๆ แล้วให้คนไข้กัดค้างเอาไว้ประมาณ 2-3 นาที
  2. การบ้วนปากด้วยฟลูออไรด์ ซึ่งคนไข้จะต้องอมน้ำยาไว้ประมาณ 2-3 นาที
  3. การเคลือบฟลูออไรด์โดยตรงจากทันตแพทย์หลังจากการได้รับฟลูออไรด์แล้ว ไม่ควรบ้วนปาก และห้ามรับประทานอาหารหรือดื่มอะไรเลยเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้ฟันดูดซับฟลูออไรด์ได้อย่างเต็มที่

การรักษาด้วยฟลูออไรด์ที่บ้าน

ผู้มีความเสี่ยงที่จะมีฟันผุสูง เช่น ผู้ที่มีอาการปากแห้ง หรือผู้ที่รับการบำบัดด้วยการฉายรังสี ก็มีวิธีเสริมฟลูออไรด์ด้วยตัวเองที่บ้านได้ ทันตแพทย์จะพิจารณาถึงประโยชน์และความเหมาะสมก่อนจ่ายฟลูออไรด์เจลให้ไปใช้เองที่บ้าน

น้ำขวด

เมื่อการดื่มน้ำบรรจุขวดกลายเป็นที่แพร่หลาย ก็มีคนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ไม่ได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณที่แนะนำอีกต่อไป เนื่องจากน้ำดื่มบรรจุขวดส่วนใหญ่ไม่มีฟลูออไรด์ และหากคุณดื่มน้ำบรรจุขวดเป็นหลัก ย่อมมีแนวโน้มที่จะขาดแร่ธาตุที่สำคัญยิ่งนี้ ดังนั้น ควรปรึกษาทันตแพทย์ว่าคุณมีความจำเป็นที่จะต้องเสริมฟลูออไรด์ด้วยหรือไม่

มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เราอาจไม่ได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณที่เพียงพอ เช่น

  • ระดับของฟลูออไรด์ในน้ำดื่มบรรจุขวด ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละแบรนด์ หากไม่มีการระบุอย่างชัดเจนบนฉลากผลิตภัณฑ์ คุณสามารถโทรไปสอบถามบริษัทผู้ผลิตเพื่อทราบข้อมูลที่สำคัญนี้ได้
  • ปริมาณของน้ำบรรจุขวดที่คุณดื่มในแต่ละวัน
  • การใช้น้ำบรรจุขวดเพื่อดื่ม ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการปรุงอาหาร ทำซุป ทำน้ำผลไม้ รวมถึงเครื่องดื่มต่างๆ
  • การดื่มน้ำผสมฟลูออไรด์ที่โรงเรียน ที่ทำงาน หรือที่อื่นๆ

ฟลูออไรด์เสริม

ฟลูออไรด์เสริมมาอาจมาในรูปของยาอม ยาเม็ด หรือของเหลว สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาส่วนใหญ่ หรือทางออนไลน์โดยมีใบสั่งยาจากทันตแพทย์ ทั้งนี้ เราขอแนะนำให้ปรึกษาทันตแพทย์เกี่ยวกับการใช้ฟลูออไรด์เสริมใดๆ ที่มีวางจำหน่ายทั่วไป ว่าตัวคุณหรือคนในครอบครัวจะได้รับประโยชน์จากการใช้ฟลูออไรด์เสริมเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสมหรือไม่

ไม่ว่าจะเป็นการรับฟลูออไรด์ผ่านน้ำประปา น้ำขวด ยาสีฟัน หรือฟลูออไรด์เสริมก็ดี สิ่งหนึ่งที่สำคัญเสมอคือ คุณจำเป็นต้องตรวจสอบว่าได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณที่ทันตแพทยสมาคมอเมริกัน (ADA) แนะนำเพื่อปกป้องฟันของคุณ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม