man-brushing-teeth-with-fluoride-toothpaste.jpg
Badge field

ทำไมถึงใช้ยาสีฟันปราศจากฟลูออไรด์?

Published date field Last Updated:

คุณควรใช้ยาสีฟันปราศจากฟลูออไรด์หรือไม่? คำตอบนั้นขึ้นอยู่กับอายุของคุณ ยกตัวอย่างเช่น เด็กๆ ที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรใช้ยาสีฟันในปริมาณที่มีขนาดใหญ่กว่าเมล็ดข้าว เผื่อในกรณีที่กลืนเข้าไป โดยส่วนใหญ่ ฟลูออไรด์มีประโยชน์มากมายต่อเด็กและผู้ใหญ่ ผู้คนบางกลุ่มก็มีข้อโต้แย้งว่าควรใช้ฟลูออไรด์หรือไม่ ถึงแม้จะรู้กันอย่างแพร่หลายว่าฟลูออไรด์นั้นเป็นแร่ธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ปลอดภัยและช่วยปกป้องไม่ให้เกิดฟันผุก็ตาม

ฟลูออไรด์คืออะไร?

แร่ฟลูออไรด์เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติบนเปลือกโลก และกระจายอยู่ตามดิน น้ำและอากาศ ฟลูออไรด์ทำให้ฟันแข็งแรงขึ้นและต้านทานต่อกรดที่ทำให้เกิดฟันผุ โดยจะปกป้องไม่ให้เกิดฟันผุก่อนที่คุณจะสังเกตเห็น เนื่องจากผลลัพธ์ที่ว่าฟลูออไรด์ช่วยป้องกันฟันผุ จึงถูกนำไปผสมลงในแหล่งน้ำบริโภคของชุมชน

ความเป็นมาของฟลูออไรด์โดยย่อ

ความสัมพันธ์ระหว่างฟลูออไรด์กับสุขภาพฟันได้รับการวิจัยอย่างหนักตลอดเวลากว่า 100 ปีที่ผ่านมา สถาบันวิจัยทางทันตกรรมและกะโหลกศีรษะและใบหน้าแห่งชาติ เล่าถึงที่มาของการศึกษาฟลูออไรด์จากปี 1901 ถึงช่วงทศวรรษที่ 1930 ว่า เมืองเล็กๆ หลายแห่งได้สังเกตเห็นฟันของเด็กๆ และผู้ใหญ่ต่างมีจุดด่างสีน้ำตาล แต่ยังคงทนต่ออาการฟันผุนักวิจัยได้ค้นพบว่ามีฟลูออไรด์ระดับสูงอยู่ในน้ำดื่มของเมืองเหล่านั้น ซึ่งเป็นตัวการทำให้ฟันมีรอยด่างแต่กลับแข็งแรงมากขึ้น จนช่วงทศวรรษที่ 1940 ก็เป็นที่เข้าใจกันดีแล้วว่าฟลูออไรด์ในปริมาณพอเหมาะพอดีจะช่วยป้องกันฟันผุ หลังจากการผสมฟลูออไรด์ลงในน้ำดื่มของเมืองแกรนด์แรพิดส์ รัฐมิชิแกน ส่งผลให้ฟันผุในเด็กลดลงมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ปัจจุบันนี้ถือเป็นการปฏิบัติขั้นพื้นฐานที่น้ำประปาต้องมีฟลูออไรด์เพื่อให้มั่นใจได้ว่าประชาชนจะได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณที่เพียงพอ อาหาร เครื่องดื่ม ยาสีฟัน อาหารเสริม หรือแม้กระทั่งน้ำยาบ้วนปากบางชนิดก็มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ด้วยเหมือนกัน

ฟลูออไรด์ทำหน้าที่อะไร?

ขณะที่แบคทีเรียและน้ำตาลสร้างกรดที่ค่อยๆ ทำให้เกิดฟันผุ ฟลูออไรด์จะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับเคลือบฟันของคุณ ก่อนที่ฟันน้ำนมเด็กจะงอกขึ้น เคลือบฟันของพวกเขาจะแข็งแกร่งจากการทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มที่มีฟลูออไรด์ผสม เมื่อฟันโผล่ขึ้นมาเหนือเหงือก ฟลูออไรด์ที่มาจากแหล่งธรรมชาตินี้จะช่วยซ่อมแซมเคลือบฟันที่อ่อนแอระหว่างการเจริญเติบโตและไม่ใช่สำหรับเด็กเท่านั้น! ฟลูออไรด์ช่วยป้องกันฟันผุในผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน ฟลูออไรด์ที่พบในยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก หรือที่เรียกว่าฟลูออไรด์เฉพาะที่มีผลดีต่อผู้คนทุกวัย เด็กและผู้ใหญ่ที่ดื่มน้ำจากขวดน้ำควรตรึกตรองสักนิด เพราะน้ำขวดหลายๆ แบรนด์ไม่ได้ผสมฟลูออไรด์มาให้ การดูแลอื่นๆ นอกเหนือจากยาสีฟันผสมฟลูออไรด์อาจเป็นสิ่งจำเป็น สอบถามทันตแพทย์ของคุณหากมีข้อสงสัยรวมถึงทางเลือกการรักษา เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณที่เพียงพอจากกิจวัตรประจำวัน

คุณควรใช้ยาสีฟันปราศจากฟลูออไรด์หรือไม่?

หากคุณกำลังพิจารณาให้ลูกใช้ยาสีฟันปราศจากฟลูออไรด์ สมาคมทันตแพทย์อเมริกัน (ADA) ชี้แนะให้ป้ายยาสีฟันผสมฟลูออไรด์กับเด็กที่มีฟันซี่แรกขึ้นจนถึงอายุ 3 ขวบ และปริมาณขนาดเท่าเมล็ดถั่วสำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี สัดส่วนที่แนะนำนี้นั้นคำนึงถึงความเสี่ยงในการเกิดฟันตกกระ ซึ่งจะเปลี่ยนสีหรือทำให้เกิดร่องหลุมบนฟัน สังเกตุฟันตกกระได้จากมีจุดสีขาว หรือ สีน้ำตาลบนผิวฟัน และฟันอาจมีสัมผัสหยาบขึ้นก็ได้แต่หากคุณแพ้ฟลูออไรด์ ก็มียาสีฟันปราศจากฟลูออไรด์มากมายให้เลือกใช้ ถ้าคุณกังวลว่าการใช้ฟลูออไรด์จะมีผลกระทบกับปัญหาสุขภาพบางอย่างหรือโดยทั่วไป ลองคุยกับแพทย์ของคุณนอกจากนี้ หากคุณเชื่อว่าคุณได้รับฟลูออไรด์เพียงพอแล้วจากอาหารและเครื่องดื่ม ลองปรึกษากับทันตแพทย์หรือแพทย์ของคุณว่ายังต้องเพิ่มฟลูออไรด์เฉพาะที่อีกหรือไม่ ฟลูออไรด์เฉพาะที่และฟลูออไรด์ชนิดรับประทานให้ผลที่แตกต่างกันเป็นอย่างมากต่อสุขภาพช่องปาก ADA ระบุว่าฟลูออไรด์ในผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับฟัน ต้านทานฟันผุได้มากยิ่งขึ้น ขณะที่ฟลูออไรด์ทางระบบ (ชนิดรับประทาน) ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของโครงสร้างฟันก่อนที่จะงอก น้ำลายก็มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ทางระบบ ซึ่งช่วยคุ้มกันช่องปากให้กับคุณได้อย่างต่อเนื่องตามการวิจัยในหลายทศวรรษ ฟลูออไรด์มีประวัติที่พิสูจน์ได้แล้วว่าช่วยปกป้องฟันและพัฒนาสุขภาพช่องปากให้ดีขึ้น เพียงแค่ต้องแน่ใจว่าคุณแปรงฟัน 2 ครั้งต่อวันและใช้ไหมขัดฟันทุกวัน เพื่อสุขภาพฟันที่แข็งแรงที่สุด

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม