คู่เดินป่า
Badge field

ตุ่มใสที่ปากคืออะไร?

Published date field

ตุ่มใสที่เกิดขึ้นในปาก แล้วมีเยื่อบางๆหุ้มอยู่ ส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด แต่อาจทำให้คุณรู้สึกรำคาญว่าเหมือนมีอะไรบางอย่างอยู่ในปากตลอดเวลา

ตุ่มใสนี้มักเกิดในบริเวณด้านในริมฝีปาก แต่ก็อาจเกิดได้ที่ลิ้น เพดานปาก กระพุ้งแก้มหรือพื้นปากที่อยู่ใต้ลิ้น บางทีก็เกิดที่บริเวณรอบ ๆ รูที่ลิ้นหรือริมฝีปากในคนที่เจาะลิ้นหรือเจาะริมฝีปากได้ ตุ่มใสที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นปากเรียกว่า Ranula ซึ่งจะเป็นลักษณะตุ่มที่นูนออกมาตรงพื้นปากใต้ต่อมลิ้น ส่วนตุ่มใสที่เกิดบริเวณเหงือกจะเรียกว่า Epulis ถุงน้ำเหล่านี้สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

สาเหตุและการป้องกัน

สาเหตุของการเกิดตุ่มใสเหล่านี้มักมาจากการดูดเนื้อเยื่อเล่นบริเวณฟันหรือกระพุ้งแก้มเล่น แต่ก็อาจเป็นได้ที่จู่ ๆ มันก็เกิดขึ้นเอง

การรักษาตุ่มใสในปาก

โดยปกติแล้วตุ่มใสนี้ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาใด ๆ และมักจะแตกแล้วหายไปเอง สามารถทำความสะอาดช่องปากได้ตามปรกติ แต่หากตุ่มใสนี้เกิดอาการระคายเคืองรบกวนการเคี้ยวอาหารของคุณ หรือไม่หายไปเองภายใน 2 สัปดาห์ คุณควรเข้าไปพบทันตแพทย์เพื่อให้ทันตแพทย์ใช้เข็มบ่งเอาหนองออก อาการก็จะหายไปเอง

การกำจัดตุ่มใส

บางครั้งทันตแพทย์หรือศัลยแพทย์ช่องปากอาจทำการผ่าเอาตุ่มใสนี้ออก หากตุ่มใสวนกลับมาเป็นอีกครั้งหลังแตกออกแล้ว การรักษานี้ไม่ค่อยพบปัญหาที่น่ากังวลใด ๆ แต่อย่างไรก็ตาม คุณควรศึกษาถึงความเสี่ยงที่อาจมีโดยการสอบถามทันตแพทย์หรือศัลยแพทย์ช่องปากให้เข้าใจรวมถึงวิธีการปฏิบัติตนหลังการศัลยกรรม

หากตุ่มใสในปากไม่แตกออกเองและคุณไม่เข้ารับการรักษา ตุ่มนี้อาจก่อตัวเป็นตุ่มที่อยู่กับคุณไปตลอดกาลได้ อย่างที่กล่าวไปแล้ว ตุ่มเหล่านี้ไม่เป็นอันตราย แต่หากพบสิ่งผิดสังเกตหรือมีตุ่มอื่น ๆ ขึ้นตามมา แนะนำให้คุณไปพบทันตแพทย์ทันที ซึ่งหากจำเป็น ทันตแพทย์อาจวินิจฉัยด้วยการถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์เพื่อให้รู้อาการแน่ชัด อย่าลืมว่าสุขภาพช่องปากของเราสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมของทั้งร่างกายเรา ดังนั้น คุณควรเริ่มต้นดูแลสุขภาพร่างกายด้วยการดูแลช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม