เรื่องจริงเกี่ยวกับความเจ็บปวดในการรักษาคลองรากฟัน
Badge field

เรื่องจริงเกี่ยวกับความเจ็บปวดในการรักษาคลองรากฟัน

Published date field

แค่พูดคำว่า "การรักษาคลองรากฟัน" ออกมา หลายคนก็นั่งตัวสั่นกันแล้ว ภาพยนตร์และละครตลกหลายเรื่องทำให้คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับการรักษาคลองรากฟัน แถมคนส่วนใหญ่ยังอาจจะเคยได้ยินเรื่องน่ากลัวเกี่ยวกับความเจ็บปวดเกี่ยวกับการรักษาฟันมาจากเพื่อนหรือญาติ ๆ ไม่คนใดก็คนหนึ่ง

แต่ความกลัวเหล่านี้เป็นเรื่องจริงหรือ การรักษาคลองรากฟันเจ็บปวดเหมือนอย่างที่คนเราเข้าใจกันจริงหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า แนวคิดเกี่ยวกับความเจ็บปวดในการรักษาคลองรากฟันนั้นไม่ใช่ความจริงอีกต่อไป

อะไรคือสาเหตุของความเจ็บปวด

สิ่งแรกที่คุณต้องทำความเข้าใจก็คือ การรักษาคลองรากฟันไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงของอาการเจ็บปวดของผู้ป่วยส่วนใหญ่ สมาคมทันตแพทย์รักษาคลองรากฟันระบุว่า จุดประสงค์ของการรักษาคลองรากฟันคือเพื่อบรรเทาอาการปวด ไม่ใช่ทำให้เกิดความเจ็บปวดเสียเอง ความจริงแล้ว เมื่อพิจารณาจากความก้าวหน้าด้านเทคนิคการระงับความรู้สึกและการผ่าตัดในปัจจุบัน ความรู้สึกเจ็บปวดที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษาคลองรากฟันไม่ได้มากกว่าไปกว่าการอุดฟันเลย

ในทางตรงกันข้าม อาการปวดฟันมักจะมีสาเหตุมาจากเนื้อเยื่อ เช่น โพรงประสาท ติดเชื้อหรือเสียหายและติดเชื้อ ซึ่งในการรักษาคลองรากฟัน เนื้อเยื่อเหล่านี้จะถูกกำจัดออกไปและมีการทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวเพื่อหยุดการติดเชื้อและบรรเทาอาการปวดลง ถึงแม้ว่าฟันและบริเวณรอบ ๆ ฟันจะรู้สึกเจ็บไปประมาณสองสามวัน แต่ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ว่าจะจ่ายยาบรรเทาปวดและอนุญาตให้คุณกลับไปทำงานได้เกือบจะในทันทีหรือไม่

ถอนฟันไม่ดีกว่าหรือ

ทันตแพทย์ส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าควรเก็บฟันเอาไว้ดีกว่าถอนฟันแล้วมาใส่สะพานฟันหรือรากฟันเทียมทีหลัง การรักษาคลองรากฟันเป็นวิธีหนึ่งในการเก็บฟันธรรมชาติของเราไว้ โดยทันตแพทย์จะขูดเอาโพรงประสาทส่วนที่เสียหายออกแทนที่จะถอนฟันทิ้ง เพราะหากถอนฟัน ผู้ป่วยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงกว่าและไม่สามารถทำให้กลับคืนมาเป็นเหมือนเดิมได้ ทั้งยังส่งผลให้ร่างกายเครียดกว่ากันด้วย

ตอนนี้ คุณก็ทราบความจริงเกี่ยวกับอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในการรักษาคลองรากฟันแล้ว ต่อไปเมื่อรู้สึกปวดฟัน คุณก็ไม่ต้องกลัวการไปหาหมอฟันแล้ว การรักษาคลองรากฟันมีอัตราความสำเร็จสูง และช่วยให้คุณรักษาฟันเอาไว้ได้ไปตลอดชีวิต

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม