หญิงสาวที่มีอาการเสียวฟันโดยใช้มือจับแก้มซ้าย
Badge field

สาเหตุที่ทำให้คุณ ‘เสียวฟัน’ พร้อมวิธีป้องกันและรักษาอาการเสียวฟัน

Published date field

 

เมื่อคุณรู้สึกเสียวแปล๊บ ๆ ระหว่างรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสเปรี้ยว หวาน ร้อน และเย็น หรือเคี้ยวอาหารแล้วรู้สึกจี๊ดฟัน นั่นอาจจะเป็นสัญญาณของ “อาการเสียวฟัน” ที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากการแปรงฟันแรงเกินไป การเลือกใช้แปรงสีฟันแข็งเกินไป รวมถึงภาวะเหงือกร่น ฟันผุ ฟันแตก โรคปริทันต์ เหงือกอักเสบ เป็นต้น คอลเกต รวมสาเหตุของอาการเสียวฟัน และวิธีป้องกันรักษาอาการเสียวฟัน เพื่อให้คุณรับมือกับอาการเสียวฟันได้อย่างเหมาะสม

อาการเสียวฟัน คืออะไร?

อาการเสียวฟัน หรือภาษาทางการแพทย์จะเรียกว่า “ภาวะเนื้อฟันไวเกิน” (Dentinal hypersensitivity) เกิดจากการตอบสนองของเส้นประสาทในฟันที่ไวกว่าปกติต่อสิ่งกระตุ้นเร้าจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องดื่ม หรือการแปรงฟันที่แรงเกินไป โดยปกติแล้งบริเวณเนื้อฟัน (ชั้นที่อยู่ล้อมรอบเส้นประสาท) จะมีรูท่อเล็ก ๆ เป็นจำนวนมากที่เชื่อมต่อกับศูนย์กลางเส้นประสาท โดยเนื้อฟันจะได้รับการปกป้องด้วยเคลือบฟัน (Enamel) และเหงือก แต่เมื่ออายุมากขึ้นสารเคลือบฟันจะเริ่มบางลง สึกหรอ หรือเคลือบฟันแตก ส่งผลให้เหงือกร่นมากขึ้น ทำให้เนื้อฟัน (Dentine) เปิดออกและได้รับการป้องกันลดลงไปด้วย ส่งผลให้คุณรู้สึกเสียวฟันจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่เข้าไปกระตุ้นโพรงประสาทจนทำให้เกิดอาการเสียวฟันจี๊ด ๆ นั่นเอง 

สาเหตุของอาการเสียวฟัน

ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมบอกว่า อาการเสียวฟันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ นอกจากเหงือกร่น ฟันผุ ฟันแตกร้าว โรคเหงือกอักเสบ หรือคอฟันสึก นอกจากนี้ คนที่ชอบรับประทานอาหารรสเปรี้ยวหลังขูดหินปูน หรืออุดฟันก็อาจจะมีอาการเสียวฟันได้เช่นกัน โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดอาการเสียวฟัน ได้แก่

  • ภาวะเหงือกร่น เนื่องจากอายุที่มากขึ้น 

  • เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น โซดา มะนาว ที่ส่งผลให้เกิดการกัดกร่อนเคลือบฟัน และเผยให้เห็นเนื้อฟัน

  • การเคี้ยวหรือบดฟันแรง ๆ อาจทำให้เกิดอาการเสียวฟันแปล๊บ ๆ ได้ 

  • การแปรงฟันไม่ถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นการแปรงฟันมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน การแปรงฟันแรงเกินไป หรือการเลือกใช้แปรงสีฟันแข็งเกินไป ก็สามารถทำลายสารเคลือบฟันให้บางลงและสึกกร่อนได้ 

  • โรคเหงือก หรือโรคปริทันต์ เป็นโรคที่เกิดจากอาการเหงือกบวม เหงือกอักเสบ ส่งผลให้เหงือกร่นได้

  • ฟันผุ ฟันแตกร้าว ความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับฟัน เช่น ฟันผุ ฟันแตก ฟันบิ่น ฟันร้าว หรือฟันมีรูและเผยให้เห็นเนื้อฟัน จะส่งผลให้เกิดอาการเสียวฟันในที่สุด

นอกจากนี้ สาเหตุอื่น ๆ ที่เกิดจากการรักษาทางทันตกรรมก็ทำให้รู้สึกเสียวฟันได้เช่นกัน ไม่วาจะเป็น การฟอกฟันขาว การใส่ที่ครอบฟัน หรือการอุดฟัน ซึ่งทำให้เนื้อฟันมีความรู้สึกไวจากสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ระหว่างหรือหลังจากขั้นตอนการรักษานั่นเอง

วิธีป้องกันและบรรเทาอาการเสียวฟัน

สิ่งสำคัญในการป้องกันและบรรเทาอาการเสียวฟันได้อย่างเหมาะสม คือการหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเสียวฟัน เราแนะนำให้คุณไปพบทันตแพทย์เพื่อช่วยให้คุณรับมือกับอาการเสียวฟันได้อย่างตรงจุด มีหลายขั้นตอนที่คุณสามารถบรรเทาอาการเสียวฟันได้ด้วยตัวเอง ควบคู่กับการดูแลรักษาโดยทันตแพทย์ ได้แก่ 

  • การใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงที่อ่อนนุ่ม เราแนะนำให้เลือกแปรงสีฟัน คอลเกต เจนเทิล คอมฟอร์ท คลีน ที่มีขนแปรงนุ่มเป็นพิเศษกว่า 3,000 เส้น ช่วยให้คุณทำความสะอาดฟันและเหงือกได้อย่างอ่อนโยน

  • การแปรงฟันอย่างถูกวิธีจะช่วยป้องกัน การเสียดสีของสารเคลือบฟันและภาวะ เหงือกร่นได้

  • เลือกยาสีฟันสูตรลดการเสียวฟัน ที่มีส่วนผสมของโปร-อาจิน เราแนะนำ คอลเกต เซนซิทีฟ โปรรีลีฟ ออริจินัล นวัตกรรมเพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี และช่วยลดอาการเสียวฟันได้อย่างรวดเร็วและให้การปกป้องยาวนาน

  • หลีกเลี่ยงการรับประทาอาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด และมีฤทธิ์เป็นกรด เพื่อลดการสึกหรอของเคลือบฟัน 

  • ควรพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสุชภาพช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ 

จำไว้ว่า เมื่อเกิดอาการเสียวฟันคุณจำเป็นต้องค้นหาสาเหตุที่ชัดเจนให้เจอเสียก่อน แนะนำให้เข้าพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาอาการเสียวฟันได้อย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยวและอาหารที่มีกรด โดยเฉพาะก่อนและหลังเข้ารับการอุดฟันหรือการขูดหินปูนเพื่อป้องกันอาการเสียวฟัน ที่สำคัญควรเลือกแปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่ม และยาสีฟันสูตรลดอาการเสียวฟันเพื่อการดูแลสุขภาพช่องปากที่ตอบโจทย์คุณ

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม