Badge field

การเอ็กซ์เรย์ฟัน

Published date field

การเอ็กซเรย์ฟันเป็นขั้นตอนที่จำเป็นในการวางแผนดูแลสุขภาพช่องปาก และพบได้ค่อนข้างบ่อย เพราะทุกคนที่เคยไปหาหมอฟันหรือนักทันตสุขอนามัยก็น่าจะเคยเอ็กซ์เรย์ฟันมาแล้ว ดังนั้น หากทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกเล็กน้อย ก็จะมีประโยชน์มาก

ขั้นตอนการเอ็กซ์เรย์ฟัน

การเอ็กซ์เรย์ฟันมักทำในคลินิกของทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม อันดับแรก ผู้เชี่ยวชาญทางทันตกรรมจะให้คุณสวมเสื้อคลุมตะกั่วหนัก ๆ เพื่อปกป้องร่างกายของคุณจากรังสี จากนั้นผู้เชี่ยวชาญทางทันตกรรมที่มีใบอนุญาตจะสอดเครื่องมือพลาสติกเข้าไปในช่องปากและขอให้คุณกัดเครื่องมือดังกล่าวไว้เพื่อให้ฟิล์มเอ็กซ์เรย์อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่จะถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์บริเวณที่กำหนด ในขั้นตอนนี้ คุณจะไม่รู้สึกเจ็บ และจะมีการถ่ายภาพซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ภาพทั่วช่องปาก

ทำไมต้องถ่ายเอ็กซ์เรย์

จุดประสงค์หลักของการเอ็กซ์เรย์คือ ดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันโรค การเอ็กซ์เรย์ฟันช่วยให้ทันตแพทย์มองเห็นปัญหาฟันหลายชนิด รวมถึงความเสียหายของกระดูก ฟันบาดเจ็บ และฟันผุด้วย ซึ่งนอกจากจุดประสงค์ในการดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันโรคแล้ว การเอ็กซ์เรย์ฟันยังเป็นเครื่องมือที่ประโยชน์ต่อการวางแผนการรักษาให้แก่ผู้ป่วยที่ต้องฟื้นฟูร่างกายหลังการรักษา ผู้ป่วย

การเอ็กซ์เรย์ประเภทต่าง ๆ ที่พบบ่อย

ทันตแพทย์ใช้การเอกซ์เรย์หลายแบบด้วยกัน และจะเลือกโดยพิจารณาจากประเภทการรักษาของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ต่อไปนี้คือการเอกซ์เรย์ที่ใช้บ่อยที่สุด

  • เอ็กซ์เรย์ฟันเฉพาะซี่: แสดงภาพของฟันทั้งซี่ตั้งแต่ตัวฟันจนถึงกระดูกที่พยุงฟัน
  • การเอ็กซ์เรย์ฟันกรามด้านใน: แสดงภาพของฟันซี่ในทั้งบนและล่าง นอกจากนี้ยังช่วยให้แพทย์มองเห็นว่าฟันแต่ละซี่สัมผัสอย่างไรด้วย
  • การเอ็กซ์เรย์แบบพาโนรามิก: แสดงภาพของฟัน กระดูกขากรรไกร โพรงจมูก ไซนัส และข้อต่อขากรรไกร มักนำมาใช้กับผู้ที่อาจจำเป็นต้องจัดฟัน
  • การเอ็กซ์เรย์การสบฟัน: แสดงภาพของช่องปากอย่างชัดเจนเพื่อช่วยหาว่ามีฟันเกินหรือฟันที่ยังไม่หักอยู่ในเหงือกหรือไม่

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม