วิธีรักษาโรคเหงือกตามระดับความรุนแรง
Badge field

วิธีรักษาปัญหาเหงือกตามระดับความรุนแรง

Published date field
Published date field อัพเดทล่าสุด
Published date field

ตรวจสอบทางการแพทย์โดย Colgate Global Scientific Communication

ปัญหาทางปริทันต์ มี 2 ระดับหลัก คือ ปัญหาเหงือกอักเสบและปัญหาปริทันต์อักเสบ ซึ่งวิธีรักษาขึ้นอยู่ว่าเป็นปัญหาเหงือกแบบใดและรุนแรงแค่ไหน

ปัญหาเหงือกอักเสบคือ มีการอักเสบที่เหงือก สังเกตุได้จากเหงือกมีลักษณะบวกหรือแดง หากปล่อยทิ้งไว้การอักเสบจะลุกลามไปยังฟันซี่อื่นๆ อาการถัดไปคือ เกิดร่องลึกในเหงือกและกลายเป็นปริทันต์อักเสบในที่สุด และหากถึงขั้นนี้แล้วยังไม่ได้รับการรักษาจะส่งผลให้อวัยวะรอบ ๆตัวฟันเช่น เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ กระดูกเบ้าฟันถูกทำลายจนต้องสูญเสียในที่สุด แล้วคุณควรจะรักษาอย่างไร

การรักษาปัญหาเหงือกที่อักเสบเล็กน้อย

สถาบันวิจัยทางทันตกรรมกะโหลกศีรษะและใบหน้าแห่งชาติ (NIDCR)ได้ชี้แจงไว้ว่า การรักษาปัญหาเหงือกอักเสบเบื้องต้นคือการดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีขึ้นด้วยตนเอง โดยการทำความสะอาดช่องปากอย่างทั่วถึงเพื่อกำจัดคราบแบคทีเรียสะสมร่วมกับการขูดหินปูนโดยทันตแพทย์เป็นประจำ

การดูแลสุขภาพช่องปากประกอบด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือถ้าจะให้ดีควรแปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกมื้อนาน 2 นาทีด้วยแปรงสีฟันขนนุ่ม และใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งในตอนเย็น ทันตแพทย์อาจสั่งจ่ายน้ำยาบ้วนปากกำจัดแบคทีเรียที่ช่วยป้องกันเหงือกอักเสบและรักษาการอักเสบไปพร้อมๆ กัน

การรักษาปัญหาเหงือกขั้นรุนแรงและปริทันต์อักเสบ

NIDCR ได้อธิบายว่า มี 3 วิธีที่จะรักษาปัญหาเหงือกนอกเหนือจากการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง นั่นคือการเกลารากฟัน การรับประทานยา และศัลย์ปริทันต์

การเกลารากฟันคือการขูดหินปูนออกจากผิวฟันบริเวณตัวฟันและส่วนที่อยู่บนผิวรากฟันบริเวณร่องปริทันต์เพื่อให้ผิวรากฟันเรียบ ลดการเกาะของคราบหินปูน และให้เนื้อเยื่อเหงือกกลับมายึดติดกับผิวเคลือบฟันได้

การรับประทานยา ส่วนใหญ่เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียเพื่อลดการอักเสบ ทันตแพทย์อาจสั่งยาใช้เฉพาะบริเวณที่อักเสบ เช่น น้ำยาที่ใช้ใส่ในร่องเหงือก ส่วนยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดแคปซูลสำหรับรับประทานสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดร้ายแรงได้ดีโดยไม่ส่งผลต่อเนื้อเยื่อมากนัก ทำให้รักษาปัญหาเหงือกขั้นรุนแรงได้มีประสิทธิภาพมากกว่า

ส่วนศัลย์ปริทันต์ จะทำในกรณีที่ปริทันต์อักเสบและไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบอื่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านปริทันต์จะให้ข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ วิธีการของศัลย์ปริทันต์ ได้แก่


  • การตัดเหงือกเพื่อลดร่องลึกปริทันต์ให้สามารถเกลารากฟันและขูดหินปูนในร่องปริทันต์ได้อย่างสะอาด เมื่อเหงือกดีขึ้น ช่วยให้การทำความสะอาดบริเวณนั้นง่ายและช่วยให้เหงือกคงสภาพดีได้
  • ถ้าเหงือกคุณร่น สามารถปลูกเหงือกฟันซี่นั้นๆ ได้ โดยนำเนื้อเยื่อจากเพดานปากหรือตำแหน่งอื่นมาปลูกถ่ายบริเวณเหงือกที่ร่น เพื่อปิดส่วนของบริเวณรากฟันและช่วยป้องกันไม่ให้เหงือกร่นมากกว่าเดิม อีกทั้งยังเพิ่มความสวยงามให้ฟันของคุณ
  • แม้ปริทันต์อักเสบจะทำลายกระดูกเบ้าฟันไป แต่ก็มีทางเลือกด้วยวิธีการปลูกกระดูกโดยรอบเพื่อช่วยให้กระดูกตามธรรมชาติสร้างกลับขึ้นมาอีกครั้ง วิธีการคือใส่กระดูกสังเคราะห์ในบริเวณที่กระดูกหายไป จากนั้นทำการปลูกเนื้อเยื่อ ซึ่งต้องใช้เนื้อเยื่อที่เข้ากันได้กับร่างกายปลูกบริเวณที่ปริทันต์ถูกทำลายวิธีนี้จะช่วยให้เนื้อเยื่อและกระดูกเกิดการสร้างขึ้นมาใหม่

ใครเสี่ยงต่อการเป็นปัญหานี้บ้าง

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อปัญหานี้เป็นพิเศษ ได้แก่ ผู้ที่สูบบุหรี่ ซี่ง NIDCR กล่าวว่าคนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นปัญหาเหงือกมากกว่าคนทั่วไป และยิ่งถ้าคุณเป็นเบาหวานด้วย ก็จะมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียง่ายขึ้น นั่นหมายถึงการเป็นปัญหาเหงือกมากกว่าคนปรกติด้วย ถ้าคุณรับประทานยาที่ส่งผลทำให้ปากแห้ง ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อหาวิธีเพิ่มการผลิตน้ำลายในช่องปากให้มากขึ้น เพราะภาวะปากแห้งช่วยให้แบคทีเรียนั้นเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น

แม้ว่าปัญหาปริทันต์จะเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปและเป็นกันได้ทุกคน แต่ถ้าทราบและเข้าใจถึงระดับความรุนแรงของปัญหาก็ช่วยให้เราดูแลและเข้ารับการรักษาได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม